ประวัติขนมเปี๊ยะ



เล่าเรื่องขนมเปี๊ยะ 





ขนมเปี๊ยะ เป็นขนมที่มีในประเทศไทยตั้งแต่ครั้งที่ไทยมีความสัมพันธ์กับจีน 
แต่ด้วยความพิถีพิถันและความมีฝีมือในการปรุงอาหารโดยเฉพาะเจ้านายในวังหลวง   
จึงได้พัฒนาปรับปรุงมาจนกลายเป็นขนมเปี๊ยะชาววังที่มีรูปร่างสวยงาม กลิ่นหอมหวานชวนรับประทาน

ขนมเปี๊ยะ ("ปิ่ง" (餅 แปลว่า ขนมเปี๊ยะ) เป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นสิริมงคล 

ความปรารถนาดีต่อกันและความสมัครสมานสามัคคี เป็นขนมที่มักใช้ประกอบในเทศกาลต่างๆของชาวจีน 


ซึ่งความหมายของขนมเปี๊ยะและขนมบางอย่างนั้นเป็นตำนานการกู้ชาติ 
เช่น ขนมไหว้พระจันทร์ของจีนที่ชาวจีนผู้กล้าหาญได้จัดตั้งขบวนการใต้ดินเพื่อกู้ชาติจากมองโกล 
ซึ่งในสมัยนั้นในวันเพ็ญเดือนแปดชาวจีนมีประเพณีสักการะเจ้าแม่กวนอิม โดยทำขนมเปี๊ยะแลกกันในหมู่ญาติ ขบวนการใต้ดินจึงใช้ขนมเปี๊ยะสอดไส้ใส่จดหมายนัดแนะให้พร้อมใจกันต่อสู้ เป็นต้น 

อาหารที่ใช้ในงานมงคลของจีนนั้นมักจะถูกเลือกอย่างพิถีพิถัน เพื่อความเป็นมงคลของงาน 
ส่วนใหญ่จะเลือกจากชื่อและลักษณะของอาหาร ประเพณีการเลือกรับประทานขนมนี้เกิดจากความเชื่อที่มาจากชื่อ
และลักษณะของขนม และการแปลความหมายที่ออกเป็นความหมายที่ดี เป็นสิริมงคลแก่ชีวิต เป็นส่วนหนึ่งของความเชื่อและประเพณีด้วย 
เรียกว่า “ ตั้งแต่เกิดจนตายทุกวาระจะมีอาหารเข้าไปเกี่ยวข้องเสมอ ”

นอกจากนี้ยังมตำนานที่เล่าเกี่ยวกับขนมเปี๊ยะอยู่สองตำนานด้วยกัน


ตำนานแรกกล่าวว่า มีสามีภรรยาคู่หนึ่งแต่งงานอยู่ด้วยกันที่บ้านของฝ่ายสามี อยู่มาวันหนึ่งพ่อของสามีป่วยหนักแต่ไม่มีเงินรักษา ด้วยความกตัญญูภรรยาจึงนำตัวไปขัดดอกแลกกับการยืมเงินมารักษาอาการป่วยของพ่อสามี เมื่อพ่อสามีหายจากอาการป่วย สามีจึงหาวิธีไปไถ่ตัวภรรยา โดยทำขนมเปี๊ยะออกไปขายได้เงินเป็นกอบเป็นกำ มีเงินไปไถ่ตัวภรรยาจึงเกิดเป็นชื่อ เหล่าผั่วเปี๊ยะ 

ตำนานที่สองกล่าวว่า มีชายคนหนึ่งเดินทางออกจากบ้านไปทำงานอยู่ที่กวางโจว เมื่อครั้นจะกลับบ้านภรรยาได้ยินข่าวจึงคิดทำขนมเปี๊ยะออกมาเพื่อจะเอาใจ สามี เมื่อสามีได้ทานถึงกับกล่าวว่ามันวิเศษมาก และก่อนที่จะเดินทางกลับไปทำงานจึงขอให้ภรรยาทำขึ้นมาเพื่อจะนำไปฝากเจ้านาย และเพื่อนๆ เมื่อเจ้านายและเพื่อนๆได้ลิ้มรส ก็ทำให้เกิดการติดอกติดใจและเกิดการบอกต่อเป็นตำนานจนได้ชื่อว่า เตี่ยจิวเหล่าผ่อเปี๊ยะ 

ดังนั้นเมื่อรวม 2 ตำนานนี้เข้าด้วยกัน ขนมเปี๊ยะจึงเปรียบเสมือนตัวแทนของความรัก ความกตัญญู 
ที่มีต่อบรรพชน รวมไปถึงความเอื้ออาทรระหว่างสามีภรรยาที่มีต่อกัน ทำให้ขนมเปี๊ยะเป็นขนมที่คนจีนนิยมใช้ในงานมงคล ทั้ง งานหมั้น งานแต่งงาน หรือ เป็นของขวัญ  รวมไปถึงการเซ่นไหว้บรรพบุรุษ 






           การทำขนมเปี๊ยะนั้นถูกเผยแพร่โดยชาวจีนที่อพยพเข้ามาอยู่ในเมืองไทยเมื่อนาน มาแล้ว แต่เดิมนั้นไส้จะมีส่วนประกอบ เป็น ถั่วและฝัก แต่เมื่อวัฒนธรรมไทยจีนเริ่มผสมผสานกลมกลืนกันจนเริ่มมีกลิ่นและมีรสชาติแบบไทยๆ ไส้จึงเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ทุเรียน ไข่แดง เป็นต้น             

           ซึ่งความหมายของขนมเปี๊ยะในเทศกาลนี้ คือ ความพรั่งพร้อม สมบูรณ์ และความสมหวัง เป็นขนมแห่งความสิริมงคลสื่อถึงความปรารถนาดีระหว่างผู้รับและผู้ให้  ทั้งยังเป็นขนมที่แสดงถึงความสามัคคีกันเพราะในเทศกาลต่างๆ ชาวจีนส่วนใหญ่มักจะอยู่พร้อมหน้าพร้อมตากันทั้งครอบครัวกินขนมเปี๊ยะเพื่อ ให้เกิดสิริมงคลและนำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรืองแก่ตนเอง ครอบครัว ธุรกิจและกิจการ ชาวจีนจึงมีความเชื่อสืบทอดต่อกันมาว่าในปีหนึ่งๆ มักจะมีสิ่งเลวร้าย เรื่องไม่ดีไม่งาม เรื่องอัปมงคลมากระทบ หรือรบกวนการดำเนินชีวิตจนทำให้เกิดอุปสรรคต่างๆขึ้น เช่น การเจ็บไข้ได้ป่วย เงินทองไม่คล่อง ทำอะไรก็พบแต่ความยุ่งยาก ทำให้รู้ได้ว่า “ ดวงชะตาชีวิต ”  ไม่ดีนักจึงต้องมีการขวนขวายหาที่พึ่งจึงก่อให้เกิดการไหว้เจ้า การไหว้สิ่งศักสิทธิ์ การไหว้บรรพบุรุษและประเพณีอื่นๆขึ้น บนโต๊ะเซ่นไหว้จะประกอบไปด้วยสิ่งของต่างๆ ที่มีความหมายต่างๆกัน         



ขนมเปี๊ยะ คนจีนเรียกว่า “ ผั่วเปี้ย ” แต่คนไทยเรียกว่า “ ขนมเปี๊ยะ ” เป็นขนมที่มักใช้ประกอบในเทศกาลขนมไหว้พระจันทร์ของชาวจีน  
ใช้เป็นเครื่องเซ่นไหว้เทพเจ้าแห่งดวงจันทร์ 

  
ในปัจจุบันนี้พฤติกรรมการซื้อขนมเปี๊ยะนั้นได้เปลี่ยนแปลงแล้ว ผู้บริโภคไม่ได้ซื้อขนมเปี๊ยะเพียงเพื่อไหว้เจ้าเท่านั้น แต่ผู้บริโภคยังซื้อขนมเปี๊ยะเพื่อเป็นของฝากและเพื่อการบริโภคอีกด้วย






อ้างอิงจาก
https://goo.gl/o8t5Ch
https://goo.gl/us4Smp



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ประวัติคุกกี้สิงคโปร์